top of page

7 วิธีการดูแลหัวใจ..ให้ห่างไกลจากโรค

หัวใจที่ดี...โรคภัยไม่ถามหาแน่นอน


1. ตรวจสุขภาพหัวใจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ EKG เป็นการตรวจดูว่าในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติหรือไม่ โดยการติดตัวรับสัญญาณบนผิวหนังบริเวณหน้าอก เป็นการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรืออันตราย สามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัย


2. งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และการดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้ดื่มทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบนั้นสามารถเกิดได้กับอวัยวะต่างๆ เช่น ทางเดินอาหาร ตับ สมอง หัวใจและหลอดเลือด


3. ออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน เป็นการออกกำลังของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆให้หัวใจแข็งแรงและทั่วร่างกาย เช่น เดินเร็วๆ วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือเต้นแอโรบิก อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน 1-2 ชั่วโมง/วัน


4. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาหารหลัก 5 หมู่ คือกลุ่มสารอาหารสำคัญที่ควรได้รับในแต่ละวัน ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเป็นหลัก ส่วนวิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน รวมถึงสารอาหารอื่น ๆ นั้น แม้จะต้องการในปริมาณไม่มาก แต่ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะต่างมีส่วนช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและแข็งแรง การเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารหลากหลายและครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ในสัดส่วนอันเหมาะสม จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญของการคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี และสุขภาพหัวใจที่ดีเช่นกัน


5. หลีกเลี่ยงของมัน ของทอด กะ อาหารที่มีไขมันสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเบเกอรี่ พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรืออาหาร Fast Food เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเพิ่มไขมัน LDL รวมไปถึงงดดื่มแอลกอฮอล์ หรือน้ำหวาน เครื่องดื่มเหล่านี้จะเพิ่มไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ซึ่งเป็นผลเสียต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังต้องเลี่ยงอาหารแปรรูปไขมันสูง เช่น เบคอน ไส้กรอก และไขมันสัตว์จากเมนูอาหาร เช่น ข้าวมันไก่


โดยเฉพาะอาหารรสเค็มและหวานจัดไม่เหมาะต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ อาหารที่มีส่วนผสมโซเดียมสูงมีส่วนประกอบของผงชูรสเป็นจำนวนมาก หรืออาหารดองหรือปรุงแต่งให้เค็ม เช่น ปลาเค็ม ผักดอง เป็นต้น รวมไปถึงอาหารรสหวานจัดควรทานให้น้อยลงทั้งทุเรียน ขนุน และขนมหวานต่าง ๆ


6. ควบคุมน้ำหนักให้ตามเกณฑ์ BMI การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนั้นจะไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนเป็นตัวการของโรคร้ายต่างๆ มากมาย ดังนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้ดีและอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติอยู่เสมอ


7. ไม่เครียดทำจิตใจแจ่มใสสม่ำเสมอ หากเกิดความเครียดเป็นประจำ มักส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย อาทิ การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดไขมันหรือคราบตะกรันสะสมในหลอดเลือดหัวใจแทบทั้งสิ้น หากเกิดการอุดตันเพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้เกิดการปริแตกของลิ่มเลือดทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ (Heart Attack) นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถแชทได้เลย


#โรคหัวใจ #การดูแลหัวใจให้แข็งแรง

ดู 13 ครั้ง2 ความคิดเห็น

2 Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
Guest
Jan 27, 2022


Like
Guest
Jan 28, 2022
Replying to

*-*

Like
bottom of page